Home| Gallery/Activity| Files downloads|
  ค้นหาข่าว :
 
 

ประวัติความเป็นมา


         การตรวจสอบภายในภาคราชการ เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2505 ได้กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในในหน่วยงาน 1 คนหรือหลายคน รับผิดชอบในการตรวจสอบการเบิกจ่ายรวมทั้งการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายของเจ้าของงบประมาณนั้นๆ และตรวจสอบงานด้านอื่นๆ ตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นการภายใน และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในได้ถูกนำไปกำหนดไว้ในระเบียบ การรับจ่าย การเก็บเงิน และการนำส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2516 แทน โดยกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการซึ่งไม่ต่ำกว่าชั้นตรี อย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการตรวจสอบการเงินประจำเดือนทุกเดือน และมีการแก้ไขปรับปรุงในปี พ.ศ. 2520 โดยเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากเดิมที่กำหนดให้ทำงานในลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบการเงินแต่งตั้งข้าราชการอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการนั้น หรือของส่วนราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดนั้น แล้วแต่กรณี

         พ.ศ. 2519 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เทียบเท่า รวมถึงจังหวัดทุกจังหวัดมีตำแหน่ง อัตรากำลัง เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในของจังหวัดโดยเฉพาะ โดยให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรม
         พ.ศ. 2531-2532 กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นสมควรให้มีการส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้ส่วนราชการมีการตรวจสอบภายในที่เป็นระบบเพื่อสามารถเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน ในระเบียบการรับ จ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ยังไม่ครอบคลุมถึงขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบที่แท้จริงของการตรวจสอบภายใน จึงได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในในระเบียบดังกล่าว และนำมากำหนดเป็นระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2532 (ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2542)
         พ.ศ. 2541 ถึงต้นปี 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประจำกระทรวงเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในในภาพรวมของกระทรวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการควบคุม ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน งาน/โครงการต่างๆ และให้จัดตั้งกลุ่มงานตรวจสอบภายในระดับกระทรวง เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการและทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในของกระทรวง โดยมุ่งเน้นการตรวจสอบงานโครงการที่มีความสำคัญ หรือที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่มีสัญญาณบอกเหตุว่าอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น โดยประสานแผนการตรวจสอบกับหน่วยตรวจสอบภายในระดับกรม เพื่อให้การตรวจสอบมีขอบเขตงานที่กว้างขวางและไม่ซ้ำซ้อนกัน
  
        มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์จึงได้จัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในขึ้น โดยการแบ่งส่วนงานภายใน ตามคำสั้งเลขที่ 638/2552ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552  เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้นการตรวจสอบภายในจะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ   จึงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และมอบหมายให้บุคลากรปฏิบัติงานตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิททยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และทั้งนี้หน่วยงานตรวจสอบภายในจัดขึ้นเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงในความรับผิดชอบของอธิการบดีหรือผู้อธิการบดีมอบหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

 -   กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของ       
    มหาวิทยาลัยโดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพของกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงและ
    ความเพียงพอ             
-  หน่วยตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานภายใน 
   มหาวิทยาลัย และมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล เอกสาร หลักฐาน ทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่       
   ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
-  หน่วยตรวจสอบภายในไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงาน และระบบ      
   การควบคุมภายใน  หรือการแก้ไขระบบการควบคุมภายใน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความ  
   รับผิดชอบของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา 
   แนะนำ
-  ขอบเขตของการตรวจสอบภายในจะครอบคลุมทั้งการตรวจสอบด้านการเงินการบัญชี   
   การตรวจสอบการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง
   การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการสอบทาน และ
   ประเมินผลการควบคุมภายใน
-  กำหนดกฎบัตรไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย  เพื่อพิจารณา
   ให้ความเห็นชอบ และเผยแพร่ให้หน่วยรับตรวจได้ทราบ
-  จัดให้มีการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน และให้มีการประเมินการประกันคุณภาพ   
   งานตรวจสอบภายใน
-  ติดตามผลการตรวจสอบเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปรับปรุง
   แก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบ   
-  ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานตามคู่มือ / แนวปฏิบัติ
    การตรวจสอบภายในของกรมบัญชีกลาง
-  ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารสูงสุด 
   ของมหาวิทยาลัย
        
 

 



ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
 

หน่วยตรวจสอบภายใน
อาคารบริการการศึกษาและบริการกลาง 13 หมู่ 14 ต.สงเปลือย อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ 46230 โทรศัพท์ : 043-602057 โทรสาร : 043-602057

  สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 :หน่วยตรวจสอบภายใน